หินอัคนี (อังกฤษ: igneous; มาจากภาษาละติน ignis แปลว่า ไฟ) คือหนึ่งในประเภทหิน 3 ประเภทหลัก
หินอัคนีเกิดจากการเย็นตัวและแข็งตัวของหินหนืด (magma) หรือหินหลอมเหลว (lava)
โดยหินอัคนีสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่
- อัคนีแทรกซอน
- หินอัคนีพุหิน
หินอัคนีแทรกซอน (Intrusive igneous rock)
เป็นหินที่เกิดจากหินหนืดที่เย็นตัวลงภายในเปลือกโลกอย่างช้าๆ ทำให้ผลึกแร่มีขนาดใหญ่และมีเนื้อหยาบ เช่น หินแกรนิต หินไดออไรต์ และหินแกบโบร
หินอัคนีพุ (Extrusive igneous rock)
บางทีเรียกว่า หินภูเขาไฟ เป็นหินหนืดที่เกิดจากลาวาบนพื้นผิวโลกเย็นตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้ผลึกมีขนาดเล็ก และเนื้อละเอียด เช่น หินบะซอลต์ หินไรออไรต์ และหินแอนดีไซต์
นอกจากนั้นนักธรณีวิทยายังจำแนกหินอัคนี โดยใช้องค์ประกอบของแร่ เป็น หินชนิดกรด หินชนิดปลางกลาง หินชนิดด่าง และหินอัลตราเมฟิก โดยใช้ปริมาณของซิลิกา (SiO2) เป็นเกณฑ์แบ่งจากมากไปหาน้อยตามลำดับ ดังรายละเอียดในตารางที่ 1 ซึ่งจะเห็นได้ว่า หินที่มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นควอตซ์และเฟลด์สปาร์จะมีสีอ่อน ส่วนหินที่มีองค์ประกอบเป็นเหล็กและแมกนีเซียมมากจะมีสีเข้ม
อัคนีแทรกซอน เย็นตัวช้าผลึกใหญ่
- หินแกรนิต
- หินไดออไรต์
- หินแกรโบร
- หินเพริโดไทต์
อัคนีพุ เย็นตัวเร็วผลึกเล็ก
- หินไรโอไลต์
- หินแอนดีไซต์
- หินบะซอลต์
ชนิดของหิน
ชนิดของหิน
องค์ประกอบ
- ซิลิกา72%
- อะลูมิเนียมออกไซด์ 14%
- เหล็กออกไซด์ 3%
- แมกนีเซียมออกไซด์1%
- อื่นๆ 10%
แร่หลัก
แร่รอง
สีที่พบเห็นโดยทั่วไป
ชนิดของหิน
- หินชนิดปานกลาง (Intermediate)
องค์ประกอบ
- ซิลิกา 59%
- อะลูมิเนียมออกไซด์17%
- เหล็กออกไซด์ 8%
- แมกนีเซียมออกไซด์ 3%
- อื่นๆ 13%
แร่หลัก
แร่รอง
สีที่พบเห็นโดยทั่วไป
ชนิดของหิน
องค์ประกอบ
- ซิลิกา50%
- อะลูมิเนียมออกไซด์ 16%
- เหล็กออกไซด์ 11%
- แมกนีเซียมออกไซด์7%
- อื่นๆ 16%
แร่หลัก
แร่รอง
สีที่พบเห็นโดยทั่วไป
ชนิดของหิน
องค์ประกอบ
- ซิลิกา 45%
- อะลูมิเนียมออกไซด์4%
- เหล็กออกไซด์ 12%
- แมกนีเซียมออกไซด์31%
- อื่นๆ 8%
แร่หลัก
แร่รอง
สีที่พบเห็นโดยทั่วไป
หินอัคนีที่สำคัญ
- หินแกรนิต (Granite) เป็นหินอัคนีแทรกซอนที่เย็นตัวลงภายในเปลือกโลกอย่างช้าๆ จึงมีเนื้อหยาบซึ่งประกอบด้วยผลึกขนาดใหญ่ของแร่ควอตซ์สีเทาใส แร่เฟลด์สปาร์สีขาวขุ่น และแร่ฮอร์นเบลนด์สีดำ หินแกรนิตแข็งแรงมาก ชาวบ้านใช้ทำครก เช่น ครกอ่างศิลา ภูเขาหินแกรนิตมักเตี้ยและมียอดมน เนื่องจากเปลือกโลกซึ่งเคยอยู่ชั้นบนสึกกร่อนผุพัง เผยให้เห็นแหล่งหินแกรนิตซึ่งอยู่เบื้องล่าง
- หินบะซอลต์ (Basalt) เป็นหินอัคนีพุ เนื้อละเอียด เกิดจากการเย็นตัวของลาวา มีสีเข้มเนื่องจากประกอบด้วยแร่ไพร็อกซีนเป็นส่วนใหญ่ อาจมีแร่โอลิวีนปนมาด้วย เนื่องจากเกิดขึ้นจากแมกมาใต้เปลือกโลก หินบะซอลต์หลายแห่งในประเทศไทยเป็นแหล่งกำเนิดของอัญมณี (พลอยชนิดต่างๆ) เนื่องจากแมกมาดันผลึกแร่ซึ่งอยู่ลึกใต้เปลือกโลก ให้โผล่ขึ้นมาเหนือพื้นผิว
- หินไรโอไลต์ (Ryolite) เป็นหินอัคนีพุซึ่งเกิดจากการเย็นตัวของลาวา มีเนื้อละเอียดซึ่งประกอบด้วยผลึกแร่ขนาดเล็ก มีแร่องค์ประกอบเหมือนกับหินแกรนิต แต่ทว่าผลึกเล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นได้ ส่วนมากมีสีชมพู และสีเหลือง
- หินแอนดีไซต์ (Andesite) เป็นหินอัคนีพุซึ่งเกิดจากการเย็นตัวของลาวาในลักษณะเดียวกับหินไรโอไรต์แต่มีองค์ประกอบของแมกนีเซียมและเหล็กมากกว่า จึงมีสีเขียวเข้ม
- หินพัมมิซ (Pumice) เป็นหินแก้วภูเขาไฟชนิดหนึ่งซึ่งมีฟองก๊าซเล็กๆ อยู่ในเนื้อมากมายจนโพรกคล้ายฟองน้ำ มีส่วนประกอบเหมือนหินไรโอไลต์ แต่เกิดขึ้นจากเถ้าภูเขาไฟ (Pyroclastic flow) มีน้ำหนักเบาลอยน้ำได้ ชาวบ้านเรียกว่า หินส้ม ใช้ขัดถูภาชนะทำให้มีผิววาว
- หินออบซิเดียน (Obsedian) เป็นหินแก้วภูเขาไฟซึ่งเย็นตัวเร็วมากจนผลึกมีขนาดเล็กมาก เนื้อหินเหมือนแก้วสีดำ
อ้างอิง
https://th.wikipedia.org/wiki/หินอัคนี
http://www.lesa.biz/earth/lithosphere/rocks/igneous-rocks